.:: อาเซียน (ASEAN) กศน.อำเภอพิบูลย์รักษ์ ::.

 

มุมมองการศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน(AC) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

E-mail Print PDF

       นางสาวจุไรรัตน์ แสงบุญนำ  รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  ดร.มงคลชัย สมอุดร  ผอ.เชี่ยวชาญ ระดับ 9 สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา  และดร.สุนีย์ จุไรสินธ์ ผอ.กลุ่มบริหารนโยบายการเปิดเสรีการอุดมศึกษา  ร่วมสัมมนามุมมองการศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน (AC) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AECวันที่ 1 พฤศจิกายน  2556  ณ โรงแรมเซนทาราศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ จ. นนทบุรี

          นางสาวจุไรรัตน์ แสงบุญนำ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  กล่าวว่าประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลักคือ 1. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community หรือ APSC) 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC)  3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community หรือASCC ) การศึกษาได้แทรกอยู่ทั้ง 3 เสาหลัก ในการผลิตคน สร้างคนเพื่อไปสู่ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยจะต้องรู้จักกฎบัตรอาเซียนซึ่งมีวัตถุประสงค์อ คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิกาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (intergovernmental organization)          

          รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการกล่าวต่อว่าจากผลสำรวจหลายเวที คะแนนของไทยอยู่อันดับท้าย จะทำอย่างไรให้คนไทยมีความรู้ มีศักยภาพในการแข่งขัน การศึกษาจึงเป็นกุญแจสำคัญในการนำไปสู่ความสำเร็จ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจาตุรนต์ฉายแสงจึงมีการขับเคลื่อนนโยบาย "รวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา"ด้านการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยการส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศสมาชิกอาเซียน และส่งเสริมให้มีผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียนในเชิงลึก ส่งเสริมการเรียนภาษาอังกฤษ ภาษาอาเซียน และภาษาต่างประเทศอื่น ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงาน พัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาในภูมิภาค ส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในภาคการศึกษา นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการยังได้ดำเนินการการสัมมนาผู้บริหารการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีการการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Under Standing – MOU) ในการดำเนินงานร่วมกันระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์  และมีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสมาคมอาเซียนในด้านต่างเพื่อเตรียมความพร้อมและการปรับตัวของประชาชน  เช่นการฝึกอบรมบุคลากร การสัมมนาวิชาการ การจัดนิทรรศการ การแข่งขันตอบปัญหาอาเซียน กิจกรรมอาเซียนสัญจร ฯลฯ เพื่อที่จะเรียนรู้เรื่องอาเซียนให้มากขึ้น พัฒนาคนในทักษะภาษาอังกฤษและทักษะอื่นๆ ที่จำเป็น และมีความตระหนักว่าการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนเป็นเรื่องที่ดี  ตระหนักว่าการเป็นประชาคมอาเซียนจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ตระหนักว่าตนเองพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน

          ในส่วนของอาชีวศึกษา ดร.มงคลชัย สมอุดร ผอ.เชี่ยวชาญ ระดับ 9 สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา  กล่าวว่า เรายังต้องพัฒนาในเรื่องภาษาอังกฤษ และร่วมมือกับภาคเอกชนในการเตรียมคนให้มีศักยภาพเพื่อแข่งขัน โดยการสอนแบบทวิภาคีคือเรียนในภาคปกติและฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการไม่น้อยกว่า 3  เดือน นอกจากนี้ยังมีกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งบ่งบอกถึงความสามารถของกำลังคนในการประกอบอาชีพ สามารถมีเงินเดือนเท่ากับผู้ที่เรียนในระบบ เป้าหมายคือผลิตกำลังคนไปสู่ภาคการผลิต  ขณะนี้ในสถาบันอาชีวศึกษามีครูวิชาชีพ วิชาสามัญ ซึ่งเป็นชาวต่างชาติมาสอนมากขึ้นเป็นการติดอาวุธทางปัญญา ให้นักศึกษาเก่งเรื่องฝีมือแรงงานและเข้าใจภาษาต่างประเทศด้วย

         ทางด้าน ดร.สุนีย์ จุไรสินธ์ ผอ.กลุ่มบริหารนโยบายการเปิดเสรีการอุดมศึกษา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยในประเทศไทยมี 172 แห่ง ทั้งรัฐและเอกชน ตลอดจนวิทยาลัยชุมชน การศึกษาเป็นการค้าบริการ พัฒนาสมรรถนะของบุคลากร ส่งเสริมความตระหนักในความเป็นอาเซียน  ต้องทำให้ประชาชนเข้าถึงการศึกษาทุกระดับ อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน และมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

อุษา/สรุป
กิตติกร/ภาพ
กลุ่มสารนิเทศ สอ.สป.


  

Last Updated on Thursday, 21 November 2013 17:06
 
  • «
  •  Start 
  •  Prev 
  •  1 
  •  2 
  •  3 
  •  4 
  •  5 
  •  6 
  •  7 
  •  8 
  •  9 
  •  10 
  •  Next 
  •  End 
  • »


Page 1 of 20

ผู้บริหารจัดการระบบ

แบบสำรวจความคิดเห็น

การศึกษามุ่งสู่ประชาคมอาเซียน?
 

ผอ.กศน.อ.พิบูลย์รักษ์

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

พยากรณ์อากาศวันนี้

อัตราราคาน้ำมันวันนี้