ฉีกหน้ากากเศรษฐกิจ (โรงสี) ชุมชน

พิมพ์

 

300338

ชื่อหนังสือ ฉีกหน้ากากเศรษฐกิจ (โรงสี) ชุมชน

ชื่อผู้แต่ง  ดร.สุนัย  จุลพงศธร

สำนักพิมพ์  ศยาม

ราคา 250 บาท

จำนวน 368 หน้า

หนังสือ ฉีกหน้ากากเศรษฐกิจ (โรงสี) ชุมชน  ได้เรียบเรียงจากงานวิจัยในงานเขียนดุษฎีนิพนธ์ในหัวข้อเรื่อง “การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมกับแนวคิดเศรษฐกิจชุมชนทางเลือกเพื่อความยั่งยืน : กรณีศึกษาโรงสีชุมชน” แต่งานวิจัยนี้มิใช่สักแต่วิจัยเพียงเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของกรอบการศึกษาในการจบปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เท่านั้น แต่เป็นงานวิจัยที่มาจากประสบการณ์การเป็นผู้แทนราษฎรที่ให้ความสนใจกับเศรษฐกิจชุมชน

 

ที่จะนำมาเขียนนี้ คือ แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของคำว่าวัฒนธรรม

ในงานวิจัยนี้ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า “วัฒนธรรม” เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเป็นผลโดยตรงที่จะทำให้เศรษฐกิจชุมชนประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว

มีผู้ให้ความหมายกับคำว่าวัฒนธรรมจำนวนมาก เริ่มต้นจากวัฒนธรรม ตามความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึงสิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามตามหมู่คณะ วิถีชีวิตตามหมู่คณะ ส่วนวัฒนธรรมตามแนวคิดทางมานุษยวิทยา เห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับระบบความเชื่อ (belief  system) และค่านิยมทางสังคม (social  values) ที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์ รวมทั้งหมายถึงกฎระเบียบหรือมาตรฐานของพฤติกรรมที่สังคมยอมรับ วัฒนธรรมจึงเป็นวิถีชีวิต (way  of  life) ของคนในสังคม ในความเห็นของนักวิชาการทางด้านวัฒนธรรมจากหลายสำนักได้ให้ข้อคิดเห้นเกี่ยวกับความหมายของคำว่า  วัฒนธรรม  โดยใช้วิธีมองจากการศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลกของนักมานุษยวิทยา โดยสรุปลักษณะพื้นฐานของวัฒนธรรมไว้ 6 ประการด้วยกันคือ

1.       วัฒนธรรมเป็นความคิดร่วม (shared  ideas)

2.       วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์เรียนรู้ (culture  is  learned)

3.       วัฒนธรรมมีพื้นฐานมาจากการใช้สัญญาลักษณ์ (symbol)

4.       วัฒนธรรมเป็นองค์กรรวมของความรู้และภูมิปัญญา

5.       วัฒนธรรมคือกระบวนการที่มนุษย์กำหนดขึ้น

6.       วัฒนธรรมเป็นสิ่งไม่หยุดนิ่ง

ถ้าใครสนใจที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้ก็สามารถหาอ่านได้ที่ห้องสมุดนะค่ะ