ห้องสมุดประชาชน อำเภอพิบูลย์รักษ์

แนะนำหนังสือมาใหม่!

 

รหัสบาร์โค้ด 400409  เรียน-เล่น-เก่งใช้-ภาษาไทยยุค Hi-Tech


 

ถอดรหัสสัญลักษณ์ปริศนา

อีเมล พิมพ์ PDF

 

รหัสหนังสือ                200186

ชื่อหนังสือ                 ถอดรหัสสัญลักษณ์ปริศนา

ชื่อผู้เขียน                 ดร.  บัญชา  ธนบุญสมบัติ

พิมพ์ครั้งที่                 1  มกราคม  2552

ราคา                         170  บาท

จำนวน                      179  หน้า

จัดพิมพ์โดย               สำนักพิมพ์สารคดี  (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ  จำกัด)

                “เทพ”  คือสัญลักษณ์แห่ง  “ชนชั้น” ? 

ในสนธิสัญญาระหว่างอาณาจักรฮิตไทต์กับอาณาจักรมิทันนีเมื่อราวปี 1380 ก่อนคริสต์ศักราชนั้น  ฝ่ายมิทันนีได้อ้างถึงชื่อเทพเจ้าบางองค์ที่น่าจะสะดุดตาเราคนไทยไม่น้อยทีเดียว  ได้แก่  มิตระ(Mitra)  วารุณ  (Varund)  อินทร์  (Indra)  และนาสัตยา  (Nasatyas)

            ชื่อของเทพเหล่านี้ทำให้นักประวัติศาสตร์ตีความว่าอาณาจักรมิทันนีของพวกเฮอร์เรียน  (Hurrian)  นั้น  น่าจะมีชนชั้นนำเป็นชาวอินโด-อารยัน  (Indo-Aryan) เป็นแน่แท้

            อย่างไรก็ดีชื่อของเทพเจ้าที่กล่าวถึงนี้มีความลึกซึ้งมากกว่าที่ปรากฏ  โดยในปี ค.ศ. 1929 นักวิชาการชาวฝรั่งเศสที่ศึกษาประวัติศาสตร์ของภาษาชื่อ  ชอร์ช  ดูเมชิล (Georges Dumezil)  ตีพิมพ์หนังสือชื่อ Flamen-Brahman ซึ่งเสนอว่า สังคมของชาวอินโด-ยูโรเปียนในยุคโบราณนั้นมีการแบ่งผู้คนออกเป็นสามชนชั้น โดยแต่ละชนชั้นมีหน้าที่ (function) โดยเฉพาะของตน

            ลองมาดูตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมโดยเปรียบเทียบเทพต่าง ๆ  ในสังคมอินโด – ยูโรเปียนโบราณ  น่าจะเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น

            ดูเมชิลระบุว่า  สำหรับหน้าที่ด้านการปกครองนั้นพวกอินโด – อารยันจะใช้พระมิตระกับพระวรุณเป็นตัวแทน  ส่วนพวกนอร์ส (Norse)  จะใช้เทพไทร์  (Tyr)  กับเทพโอดิน (Odin) 

ทั้งนี้พระมิตระและเทพไทร์เป็นสัญลักษณ์แทนกฎหมาย  ส่วนพระวรุณและโอดินเป็นสัญลักษณ์แทนศาสนา

            หน้าที่ด้านการทหาร  พวกอินโด – อารยันใช้พระอินทร์  พวกนอร์สใช้เทพทอร์ (Thor)  และพวกโรมันใช้เทพอังคาร (Mars)  เพราะเทพทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเทพแห่งสงครามทั้งสิ้น