ห้องสมุดประชาชน อำเภอพิบูลย์รักษ์

แนะนำหนังสือมาใหม่!

 

รหัสบาร์โค้ด 600012  กฤษณาไม้หอม ไม้มหาเศรษฐี

 

วีรบุรุษ วีรสตรี

อีเมล พิมพ์ PDF

 

รหัสบาร์โค้ด   900236

ชื่อหนังสือ  วีรบุรุษ วีรสตรี

ชื่อผู้แต่ง  สาโรจน์  มีวงษ์สม

สำนักพิมพ์  คอมแพคท์พริ้ม

จำนวนหน้า  104  หน้า

ราคา   115  บาท

เนื้อหา

 

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ มีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2098 ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลกมีพระเชษฐภคินีคือ พระสุพรรณกัลยา มีพระอนุชาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) และเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศ วรราชาธิราช, พระนเรสส, องค์ดำ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนาม นเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช มาเป็น สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช เสด็จขึ้นครองราชเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 สิริรวมการครองราชสมบัติ 15 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 รวมพระชนมพรรษา 50 พรรษา

ประวัติของท้าวสุรนารี

พุทธศักราช 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร ยกกองทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้ แล้วกวาดต้อนครอบครัวชาวนครราชสีมาไปถึงทุ่งสำฤทธิ์ ท่านผู้หญิงโมรวบรวมกำลังหญิงชายเข้าต่อสู้อย่างตะลุมบอน กองทหารเวียงจันทน์แตกพินาศเจ้าอนุวงศ์ถอยทัพกลับในที่สุด กองทัพไทยยกตามไปปราบ จับตัวเจ้าอนุวงศ์ได้ ท่านผู้หญิงผู้กล้าหาญได้นามว่า เป็นวีรสตรี กอบกู้อิสรภาพนครราชสีมาเอาไว้ได้ ด้วยความสามารถมีคุณต่อประเทศชาติอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาท่านผู้หญิงโมเป็น "ท้าวสุรนารี" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาปลัดเมืองนครราชสีมา(ทองคำ) ผู้เป็นสามีท้าวสุรนารี "เจ้าพระยามหิศราธิบดี" ปรากฏในพงศาวดารมาจนทุกวันนี้

ท้าวสุรนารีถึงอสัญกรรมเมื่อเดือน 5 ปีชวด จัตวาศก จ.ศ. 1214 (พ.ศ. 2395) อายุ 81 ปี เจ้าพระยามหิศราธิบดีผู้เป็นสามีได้ฌาปนกิจศพและสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ วัดศาลาลอย ซึ่งท้าวสุรนารีได้สร้างขึ้น ต่อมาเจดีย์นั้นได้ชำรุดลง พลตรีพระยาสิงหเสนี(สอาด  สิงหเสนี) เมื่อเป็นพระยาประสิทธิศัลการ ข้าาหลวงเทศาภิบาลผู้สำเร็จราชการมณฑลนครราชสีมา องคมนตรีและรัฐมนตรี ได้บริจาคทรัพย์สร้างกู่ขนาดเล็กบรรจุอัฐิท้าวสุรนารีขึ้นใหม่ที่วัดกลาง(วัดพระนารายณ์มหาราช) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ร.ศ.114 (พ.ศ. 2442)

ต่อมากู่นั้นทรุดโทรมลงอีก ทั้งที่อยู่ในที่คับแคลไม่สง่างามสมเกียรติ พระยากำธรพายัพทิศ(ดิส  อินทโสฬส) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายพันเอกพระเริงรุกปัจจามิตร(ทอง  รักสงบ) ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 5 พร้อมด้วยข้าราชการและประชาชนชาวนครราชสีมาได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์รูปท้าวสุรนารีด้วยทองแดง นำอัฐิท่านมาบรรจุไว้ในฐานรองรับสร้างเสร็จประดิษฐานไว้ ณ ประตูชุมพลนี้ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2477

ครั้ง พ.ศ. 2510 ฐานอนุสาวรีย์ชำรุด ข้าราชการและประชาชนชาวนครราชสีมามีนายสวัสดิ์วงศ์  ปฏิทัศน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานได้ร่วมใจกันสร้างฐาานอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารีขึ้นใหม่ ณ ที่เดิม เพื่อให้เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง และเชิดชูเกียรติท้าวสุรนารี วีรสตรีไทยตลอดกาลนาน สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2510