ห้องสมุดประชาชน อำเภอพิบูลย์รักษ์

แนะนำหนังสือมาใหม่!

 

รหัสบาร์โค้ด 400409  เรียน-เล่น-เก่งใช้-ภาษาไทยยุค Hi-Tech


 

ศาสนา ศาสดา และสาวก

อีเมล พิมพ์ PDF

 

200462

ชื่อเรื่อง  ศาสนา ศาสดา และสาวก

ผู้แต่ง  พุทธทาสภิกขุ

พิมพ์ครั้งที่   1  มิถุนายน  2538

พิมพ์ที่    สำนักพิมพ์สุขภาพใจ

จำนวนหน้า  56  หน้า

ราคา  20   บาท

       จากหนังสือเรื่อง  มัชฌิมาคือหนทาง  เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาที่สำคัญหลายอย่าง  เช่น   --พิจารณาความสำคัญของมัชฌิมา. - - มัชฌิมาปฏิรูปทา เป็นตัวพุทธศาสนา. - - ความหมายของคำว่า "กลาง" ในพุทธศาสนา. - - มัชฌิมาปฏิรูปทาเป็นคำสอนเรื่องแรกของพระพุทธเจ้า. - - มัชฌิมาปฏิรูปประกอบอู่ด้วยองค์ 8. -- ทำความเข้าใจให้ชัดทีละระดับสูง. - - มัชฌิมาที่ต้องมองลึก. - -มัชฌิมามองขั้นลึกจะถอนความยึดมั่นถือมั่นได้. - - มัชฌิมาปฏิปทาเป็นตัวพรหมจรรย์. - - มัชฌิมาเป็นกัลยาณนิมิตร. - - มัชฌิมาอาจเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม. - - การสอนเรื่องความทุกข์ยังเข้าใจผิดกันอยู่ ควรแก้ไข. ผู้จัดทำได้คัดมาจากหนังสือชุดธรรมโฆษณ์   เลขประจำเล่ม 39.ค  ชื่อเล่มว่า  ธรรมบรรยายต่อห่างสุนัข  ตอนที่ว่ามัชฌิมาคือหนทางนี้  เป็นธรรมบรรยายครั้งหนึ่งที่ท่านพระพุทธทาสภิกขุบรรยายแก่พระภิกขุที่ลางานราชการมาบวช  แล้วจะต้องลาสิกขาเมื่อครบกำหนดลาบวช  ณ  ลานหินโค้ง  สวนโมกขพลาราม   อ. ไชยา  จ.  สุราษฎร์ธานี  เมื่อวันที่  29  ตุลาคม  2523 เวลา  15.00 น.โดยมีใจความสำคัญว่า

        มัชฌิมาปฎิปทาในการแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ         มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ

        1. การหมกหมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกหมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค

      2. การสร้างความลำบากแก่ตนดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตนคอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น การดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิดรวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

     ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติอย่างสุดโต่งเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐัง คิกมัคค์  หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่

       1. สัมมาทิฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง

       2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม

       3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต ไม่เป็นโทษต่อตนเองและผู้อื่น

       4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต

       5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต

       6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่ว บำเพ็ญดี

       7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด

        8 . สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตในแน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน