หน้าหลัก มูลนิธิอาเซียน

มูลนิธิอาเซียน

E-mail Print PDF

ความร่วมมือกับมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation)

       มูลนิธิอาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ระหว่างการเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปีการก่อตั้งอาเซียนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย โดยกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) มาตรา 15 กำหนดหน้าที่ของมูลนิธิอาเซียนคือ สนับสนุนเลขาธิการอาเซียนและร่วมมือกับองค์กรอื่นภายใต้อาเซียนเพื่อสร้างประชาคมอาเซียนและส่งเสริมความตระหนักเกี่ยวกับอัตลักษณ์อาเซียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน และความร่วมมือย่างใกล้ชิดระหว่างภาคเอกชน พลเมือง นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องในอาเซียน ทั้งนี้มูลนิธิอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย 

       สำหรับกิจกรรมที่จัดโดยมูลนิธิอาเซียน มีดังต่อไปนี้        

       กิจกรรมของมูลนิธิอาเซียนในปี พ.ศ. 2551

       1. ASEAN Quest

       มูลนิธิอาเซียน ร่วมกับมูลนิธิ TIFA สนับสนุนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ Quest เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียน ผู้เล่นสามารถฟังเพลงชาติของสมาชิกอาเซียน เยี่ยมชมสถานที่มรดกทางวัฒนธรรม และอ่านข้อตกลงของอาเซียน เกมดังกล่าวเผยแพร่ครั้งแรกในระหว่างการจัด ASEAN Youth Science Summit เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 ณ กรุงมนิลา ฟิลิปปินส์ รวมทั้งมีการจัดการแข่งขันเกมดังกล่าวที่เมืองหลวงของประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม โดยมีนักเรียนและนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 200 คน รวมทั้งได้แจกจ่ายเกมดังกล่าวไปยังองค์การและสถาบันภายใต้อาเซียนด้วย 

       2. 11th SEAMEO Regional Center for Educational Innovation and Technology (SEAMEO INNOTECH) จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2551 ณ เมืองเกซอนซิตี ฟิลิปปินส์ โดยมีผู้แทนจากสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 200 คน โดย มูลนิธิอาเซียนสนับสนุนเยาวชนอาเซียน 27 คน เข้าร่วมจัดนิทรรศการและแจกจ่ายเอกสารโครงการของมูลนิธิอาเซียน ในระหว่างการประชุมข้างต้นภายใต้หัวข้อหลัก “ Transitions for Youth Success: Creating Pathways for Work and Life 

       3. The ASEAN Youth Science Summit มูลนิธิอาเซียนร่วมกับ Japan – ASEAN Solidarity Fund และ the Department of Science and Technology ฟิลิปปินส์ จัด The ASEAN Youth Science Summit เป็นเวลา 3 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2551 โดยมีเยาวชน 100 คน จากประเทศอาเซียน เพื่อให้ผู้นำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคตของอาเซียนได้ตระหนักเกี่ยวกับประเด็นปัญหาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะมีผลกระทบต่อภูมิภาค และ โลก เพื่อส่งเสริมแนวคิดเกี่ยวกับข้อตกลงว่าด้วยความงบสุขในเอเชียและแปซิฟิก 

       4. Workshops on Youth, Culture and Development มูลนิธิอาเซียนร่วมกับ Japan – ASEAN Solidarity Fund สนับสนุนการจัดกิจกรรม โดยศูนย์ระดับภูมิภาค SEAMEO SPAFA เป็นผู้ดำเนินการเพื่อส่งเสริมความตระหนักรับรู้ และอัตลักษณ์อาเซียน กิจกรรมประกอบด้วยการสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การสร้างเครือข่ายและการเรียนรู้ระหว่างเพื่อนในภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและความเป็นผู้นำ โดยมีเป้าหมายให้เยาวชนกลับไปสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศของตน และส่งผลดีต่อการบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558 ในที่สุด กิจกรรมดังกล่าวประกอบด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการที่จัดในประเทศสมาชิกอาเซียนได้แก่ประเทศไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีนักศึกษาและนักวิชาการเข้าร่วมกิจกรรม 160 คนารเรียนรู้ข่ายระหว่างเพื่อนในภูมิภาคษณ์อาเซียน่จะมีผลก

        5. ASEAN Awareness Workshop and Forum มูลนิธิอาเซียนร่วมกับกองทุนเกาหลี สนับสนุนการวิจัยโดยการสำรวจเกี่ยวกับความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียน (ASEAN Awareness Survey)  จากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาจำนวน 2,000 คน จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของอาเซียนคือ มหาวิทยาลัยบรูไน ดารุสซาลาม มหาวิทยาลัยพนมเปญ มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ มหาวิทยาลัยมาลายา มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม และนักศึกษาทางไกลจากพม่า โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เป็นผู้ดำเนินการวิจัย

       การวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับอาเซียนของเยาวชนในอาเซียน ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาในอาเซียนมีความรู้เกี่ยวกับอาเซียนระดับหนึ่งและมีทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับอาเซียน นักศึกษาจำนวนมากรับรู้ว่าตนเป็นพลเมืองของอาเซียน มีข้อคำถามหลายข้อที่ผู้ตอบเห็นพ้องต้องกัน อาทิความสำคัญของประเทศอาเซียนในการบูรณาการด้านเศรษฐกิจ การกำหนดความยากจน และการพัฒนาความต้องการ รวมทั้ง สิ่งที่ประสงค์ร่วมกันคือความรู้เกี่ยวกับภูมิภาค แต่ยังมิได้รู้สึกเป็นเจ้าของหรือมีส่วนได้เสียในอาเซียนในฐานะประชาชนของอาเซียน และไม่แน่ใจว่าควรให้ความสนใจหรือศึกษาหากอาเซียนบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียนและมีอัตลักษณ์เฉพาะ

       มูลนิธิอาเซียนได้จัดการประชุม เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 เพื่อหารือเกี่ยวกับผลการวิจัยและเพื่อเผยแพร่ผลการวิจัย ประกอบด้วยผู้แทนรัฐบาลอาเซียน นักวิชาการ รวมทั้งมหาวิทยาลัยที่ร่วมการสำรวจ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้แทนเยาวชน ภาคประชาสังคม ประชาคมท้องถิ่น และสื่อมวลชน ซึ่งได้ข้อสรุปว่าการเสริมสร้างความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนซึ่งมีพลเมืองถึง 567 ล้านคน ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกส่วนมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนและต้องอุทิศตนเพื่ออาเซียน ด้วยการสร้างเครือข่ายทุกระดับในประเทศสมาชิกอาเซียน หมายรวมถึงกลุ่มนักวิชาชีพ องค์การพลเรือน ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด 

       6. Regional Conference AUN/SEED – Net (Phase II : 2008 - 2010) มูลนิธิอาเซียนสนับสนุน ASEAN University Network (AUN) จัดการประชุมระดับภูมิภาค ASEAN University Network/ Southeast Asia Engineering Education Development Network (AUN/ SEED- NET)  จำนวน 25 ครั้ง โดย Japan – ASEAN Solidarity Fund สนับสนุนด้านงบประมาณ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์จากประเทศสมาชิกอาเซียน ญี่ปุ่น และองค์การนานาชาติ และผู้แทนจากภาครัฐบาลและเอกชน ทั้งนี้วิศวกรรมศาสตร์สาขาที่จัดการประชุมได้แก่ geological engineering, disaster mitigation, new and renewable energy เป็นต้น 

       7. Building Capacities of Women Entrepreneurs and Exploring Development for Cooperatives in Southeast  Asia มูลนิธิอาเซียนร่วมกับ Japan – ASEAN Solidarity Fund จัดกิจกรรมที่ริเริ่มโดย Asian Women in Co-operative Development Forum (AWCF) ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยผู้นำสตรีจำนวน 40 คน และผู้ประกอบการสตรีจำนวน 20 คน และภาครัฐและสื่อมวลชนจากประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้สตรีจากทุกระดับที่มีวัฒนธรรม และสถานภาพแตกต่างกันได้สร้างประโยชน์ด้านเศรษฐกิจมิเพียงแต่ในครอบครัวของตนแต่ครอบคลุมถึงชุมชนและสังคม ทั้งนี้กิจกรรมภายใต้โครงการประกอบด้วย การแลกเปลี่ยนระดับภูมิภาค การสัมมนา และการประชุมเชิงปฏิบัติการ รวมถึงการศึกษาดูงานด้านการพัฒนาวิสาหกิจขนาดย่อม และการพัฒนาสหกรณ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

        8. ASEAN Collaboration Project on Nutrition Surveillance มูลนิธิอาเซียนร่วมกับ Japan – ASEAN Solidarity Fund จัดกิจกรรมนี้ขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 เป็นเวลา 5 วัน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรมจำนวน 50 คน จากภูมิภาคอาเซียนและจากพื้นที่ และผู้เชี่ยวชาญจากองค์การต่างๆ อาทิ World Health Organization, ASEAN Secretariat, USAID Micronutrient และ Child Blindness Project, Helen  Keller International และ National Nutrition Foundation เข้าร่วมประชุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาถึงแนวทางลดปัญหาความยากจน และส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียในภูมิภาคในเรื่องดังกล่าว 

       9. Promoting Mutual Assistance among Corporate Foundations in ASEAN มูลนิธิอาเซียนสนับสนุนการจัดตั้งโครงการ Corporate Social Responsibility Project (CSR) โดยเริ่มโครงการที่กรุงมนิลา ฟิลิปปินส์ และมีการลงนามในสัญญา Contract for the Project Promoting Mutual Assistance among Corporate Foundations ระหว่างมูลนิธิอาเซียน กับ The Asian Institute of Management (AIM) เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2551 และมีการสร้างเครือข่ายโดยมีบรรษัทที่รับผิดชอบด้านสังคมร่วมลงนามสนับสนุน 20 แห่งเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน  2551 ในระหว่างการสัมมนาเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมูลนิธิที่เกี่ยวข้อง ที่ประเทศสิงคโปร์

        10. Capacity Building in Poverty Mapping for ASEAN มูลนิธิอาเซียนร่วมกับ Japan – ASEAN Solidarity Fund และ Asian Institute of Technology (AIT) จัดการฝึกอบรม Capacity Building in Poverty Mapping for ASEAN Member Countries ซึ่งมีเจ้าหน้าที่จาดสำนักงานสถิติแห่งชาติและกระทรวงวางแผนจากประเทศบรูไน ดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว พม่า ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม การฝึกอบรมออกแบบเพื่อให้ความรู้ด้านการปฏิบัติแก่องค์กรและบุคลากรที่เหมาะสมในภูมิภาคให้สามารถใช้เทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีว่าด้วยพื้นที่กับต้นแบบสถิติเพื่อเตรียมแผนที่สอดรับกับความยากจนเพื่อการพัฒนาเศษฐกิจสังคมในภูมิภาค ทั้งนี้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ 2 ครั้ง ที่ สถาบัน AITกรุงเทพฯ ประเทศไทย โดยเป้าหมายของโครงการคือการพัฒนาอุปกรณ์การฝึกอบรมที่มีคุณภาพสูงและชุดข้อมูลสำหรับผู้สนใจ

        11. Linking Small Farmers to Market มูลนิธิอาเซียนร่วมกับ Japan – ASEAN Solidarity Fund ร่วมกันจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการสร้างศักยภาพและการพัฒนาภายใต้โครงการ Linking Small Farmers to Market จัดโดย the Asian Partnership for the Development of Human Resources in Rural Asia (AsiaDHRRA) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 120 คน เป็นผู้นำชาวนา/ชาวประมงจากองค์กรเอกชนจากประเทศสมาชิกอาเซียน ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น และผู้เชี่ยวชาญจากองค์การนานาชาติ การฝึกอบรมออกแบบเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะให้ชาวนา/ชาวประมงสามารถสร้างตลาดการค้าเชื่อมระหว่างผู้ขายกับคนซื้อ และสร้างความร่วมมือกับผู้บริหารระดับผู้กำหนดนโยบายทั้งในระดับชาติและภูมิภาค รวมทั้งจัดหาฐานข้อมูล และระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการเลือกปลูกพืชผลเพื่อเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจและการเจรจาต่อรองข้อตกลงในตลาดการค้า 

       12. Promotion of “ One Village, One Fisheries Products (FOVOP)” System to Improve the Livelihood for Fisheries Communities in ASEAN Region มูลนิธิอาเซียนร่วมกับ Japan – ASEAN Solidarity Fund ส่งเสริมการจัดทำโครงการ ซึ่งมีระยะเวลา 2 ปี มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 90 คน ที่รับผิดชอบด้านความเสมอภาคระหว่างชาย-หญิงและการพัฒนาและการจัดการชายฝั่งของอาเซียนจากประเทศอาเซียน และผู้เชี่ยวชาญจาก Oita OVOP International Exchange Promotion Committee และสถาบัน AIT ร่วมในโครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความตระหนัก ที่ดำเนินการโดย the Southeast Asian Fisheries Development Center (SEAFDEC) ทั้งนี้การประชุมเชิงปฏิบัติการออกแบบเพื่อการสร้างทางเลือกและวิธีในการใช้ชีวิตในชุมชนชาวประมงในอาเซียน โดยมีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจำนวน 3 ครั้งในประเทศไทย ลาว ในปี 2551 และต้นปี 2552 

       13. ASEAN Foundation Scholarship Program มูลนิธิอาเซียนมอบทุนศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาแก่นักศึกษาอาเซียนในสาขาสังคม วิทยาศาสตร์ การศึกษาเพื่อการพัฒนา วิศวกรรมศาสตร์ และ ICT โดยมอบทุนทั้งหมด 35 ทุน ในจำนวนนี้เป็นทุนศึกษาระดับปริญญาโท 18 ทุน เพื่อไปศึกษาต่อที่สถาบัน AIT จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ โดยได้รับความร่วมมือจาก the Siam Cement Group Foundation of  Thailand หุ้นส่วนพันธมิตรรายแรกของมูลนิธิอาเซียน 

       14. Partnerships with Hewlett – Packard  and Microsoft Indonesia มูลนิธิมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ Hewlett – Packard  กับ Microsoft ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย โดยปัจจุบัน Hewlett Packard’ s Micro Enterprise Development Grant Initiative มอบเงินสนับสนุนจำนวน 160,000 เหรียญสหรัฐฯ และเทคโนโลยีสำหรับปี 2551 และเงินอีจำนวน 150,000 เหรียญสหรัฐฯ และคอมพิวเตอร์ จำนวน 43 เครื่อง ส่วนการฝึกอบรมมูลนิธิอาเซียนร่วมกับ Hewlett – Packard   จัดการฝึกอบรม 36 ครั้ง มีผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อมเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 300 คน และจัดการสัมมนาด้าน e-commerce อีก 2 ครั้งในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย มีผู้เข้ารับการอบรม 300 คน

       ส่วนความร่วมมือกับ Microsoft Indonesia ในปี 2551 โดยเน้นด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้มูลนิธิอาเซียนพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและการฝึกอบรมชุดวีดิทัศน์เพื่อแจกจ่ายไปยังศูนย์ฝึกอบรมชุมชน 100 แห่ง ในท้องถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนี้มูลนิธิอาเซียนยังดูแลรายการทอล์คโชว์เพื่อสอดแทรกสาระเกี่ยวกับความตระหนักในการเป็นชาวอาเซียนออกอากาศทุกวันศุกร์ที่สองของเดือน และโครงการเสร็จสิ้นปักษ์ที่ 4 ของปี 2551 

       15. โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิอาเซียน สำหรับปี 2551 สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ การส่งเสริมความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียน  ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียของอาเซียน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเสริมสร้างศักยภาพ และการกำหนดประเด็นปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำและความยากจน โดยกิกรรมภายใต้โครงการประกอบด้วย การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การมอบทุนศึกษา/ฝึกอบรม การประชุมสัมมนาระดับภูมิภาค การปฏิสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยนเยาชนและบุคลากรการสร้างเครือข่ายและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

       มูลนิธิสนับสนุนโครงการกิจกรรมที่เสนอโดยหน่วยงานระดับภูมิภาค และระดับชาติทั้งภาครัฐและเอกชนจากประเทศสมาชิกอาเซีย ตั้งแต่ปี 2540 – 2551 จำนวน 124 โครงการ

        กิจกรรมของมูลนิธิอาเซียนในปี พ.ศ.2552

       กิจกรรมของมูลนิธิอาเซียนในปี พ.ศ. 2552 เพื่อสนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียนโดยการสร้างความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์อาเซียนมีดังต่อไปนี้

       1. 2nd East Asian Seas Youth Forum and Workshop on Coastal and Ocean Governance (หน้า 7) ระหว่างวันที่ 23-27 พฤศจิกายน 2552 ณ กรุงมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อเสริมสร้างความรู้และแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการักษาและพัฒนาชายฝั่งและมหาสมุทร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีจำนวน 90 คน รวมทั้งผู้จัดการด้านการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง และผู้เชี่ยวชาญของอาเซียน 

       2. The ASEAN Quest Game Competition มูลนิธิอาเซียนสนับสนุนการพัฒนา the ASEAN Quest Game ซึ่งเป็นเกมคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับข้อมูลประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและคานิยมของสมาชิกและประชาชนอาเซียน เพื่อเสริมสร้างความรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้มูลนิธิยังได้ประชาสัมพันธ์เกมดังกล่าวไปยังองค์กรภายใต้อาเซียน สถาบันและผู้เกี่ยวข้องอาทินักเรียน นักศึกษา องค์กรเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ  รวมทั้งจัดการแข่งขันเกมดังกล่าว 7 ครั้งตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551 โดยมีนักเรียน นักศึกษา ทั้งจากมัธยมศึกษาตอนปลายและมหาวิทยาลัย จำนวน 300 คน

        3. The Asia Source 3 : Free & Open Source Software for International Cooperation and Empowerment among NGOs, SMEs and Youth Network  จัดโดยมูลนิธิอาเซียน ร่วมกับ Japan – ASEAN Solidarity Fund โดยมีกิจกรรม 2 อย่างคือ

          3.1 The Asia Source 3 Camp เป็นค่ายฝึกอบรมการใช้คอมพิวเตอร์ 1 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ผู้ปะกอบการด้านเทคโนโลยี และข้อมูลข่าวสาร และเยาชนจาก 15 ประเทศ คือ บังคลาเทศ พม่า กัมพูชา จีน อินเดีย เคอจีสถาน ลาว มองโกเลีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย ติมอร์ เลสเต และเวียดนาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจซอฟท์แวร์ นวัตกรรม  และรูปแบบธุรกิจ บนพื้นฐานของซอฟท์แวร์ที่ใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนในอาเซียนและสำรวจศักยภาพของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมนอาเซียน 

          3.2 The 1st North Luzon free/Open Source Software Conference จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 มกราคม 2553 ณ มหาวิทยาลัย Baguio ประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 150  คน จากหน่วยงานด้านวิชาการ องค์กรท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน และผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งจัดการแข่งขัน ASEAN Game มีนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน 32 คน 

       4. ASEAN Champion of Biodiversity จัดขึ้นโดยมูลนิธิอาเซียน ร่วมกับ The ASEAN Centre for Biodiversity (ACB), the European Commission และ UNESCO เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2552 ณ ประเทศสิงคโปร์  โดยมีวัตถุปะสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความตระหนักรับรู้แก่สาธารณชน และผู้นำเกี่ยวกับปัญหาที่ทุกคนกำลังเผชิญ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากสมาชิกอาเซียน 300 คน 

       5. Workshop on Culture and Development for ASEAN Youth จัดขึ้น 2 ครั้ง คือระหว่างวันที่ 22-26 เมษายน 2552 ที่เมือง Mandaly, Myanmar และระหว่างวันที่ 18-22 พฤษภาคม 2552 ที่ Davao City, Philippines โดยมีศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ของซีมีโอ (SEAMEO SPAFA) เป็นผู้ดำเนินการ โดยมีผลผลิตเป้นวีดิทัศน์ “Youth, Culture, and Development” และเว็บไซต์ชื่อ BIMP Youth Collaborative Development Network (http:// youth.collaborativenetwork.ning.com) 

       6. Promoting ASEAN’s Cultural Heritage through Puppetry  สนับสนุนโดยมูลนิธิอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมอาเซียน ความตระหนักรับรู้ และอัตลักษณ์อาเซียน โครงการนี้ดำเนินการโดย the ASAN Puppetry Association (APA) ประกอบด้วย 2 กิจกรรมคือ

          6.1 Papet ASEAN  2010 : Celebrating ASEAN Papet Traditions จัดขึ้นที่กรุงมนิลา ฟิลิปปินส์ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 500 คน มีการแสดงหุ่นจากประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์

            6.2  Seminar on Puppetry in Education มีผู้เข้าร่วมการสัมมนาเป็นผู้เชิดหุ่น 35 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจาก 7 ประเทศ 

      7. 2nd ASEAN Traditional Textiles Symposium มูลนิธิอาเซียน ร่วมกับ Japan – ASEAN Solidarity Fund จัดการประชุมดังกล่าวระหว่างวันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ 2552 ณ กรุงมนิลา ฟิลิปปินส์ โดยมีหัวข้อการประชุมคือ Sustainable Traditional Textiles of ASEAN เพื่ออนุรักษ์มรดกสิ่งทอทางวัฒนธรรมโบราณในอาเซียน ด้วยการจัดแสดงมรดกสิ่งทอโบราณดั้งเดิมของอาเซียนและสนับสนุนกาจัดตั้งเครือข่ายชุมชนสิ่งทอตามประเพณีโบราณดั้งเดิม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน จาก นักวิชาการ ภาคธุรกิจ และชุมชนสิ่งทอทางวัฒนธรรมอาเซียน โดยข้อสรุปของการจัดประชุมคือการจัดตั้งชุมชนสิ่งทอทางวัฒนธรรมโบราณของอาเซียน และการลงนามในปฏิญญา The Agreement on the Establishment, Organization and Management of the ASEAN Traditional Textile Art Community (ASEANTTAC) ซึ่งสถาบัน Trengganu Institute of Design Excellent (TIDE) ของมาเลเซีย รับเป็นประธาน รวมทั้งรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 3 ในปีต่อไป 

       8. Metrobank Math Challenge มูลนิธิอาเซียนร่วมกับ Metrobank Foudation, Mathematics Tehers Asociation of the Philippines’ Department of Education โดยการสนับสนุนของ First Metro Investment จัดกิจกรรมดังกล่าวซึ่งเป็นการแข่งขันและพัฒนาความรู้ด้านคณิตศาสตร์ของโรงเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ของประเทศฟิลิปปินส์ โดยมูลนิธิอาเซียนพยายามบูรณาการการตระหนักรับรู้และอัตลักษณ์อาเซียนควบคู่เข้าไปด้วย ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวมีนักเรียนร่วมกิจกรรมมากกว่า 5 แสนคน มีนักเรียนผ่านเข้ารอบจำนวน 51 คน เพื่อเข้าแข่งขันระดับชาติรอบสุดท้ายในวันที่ 4 เมษายน 2552 

       9. ASEAN CSR Network: A Network of CSR Practitioners in ASEAN Countries มูลนิธิอาเซียนสนับสนุนการก่อตั้ง เครือข่ายความรับผิดชอบทางสังคม (ASEAN Corporate Social Responsibility –ASEAN CSR) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสภาวะความรับผิดชอบทางสังคมอาเซียนตามที่กำหนดไว้ใน the Blueprint for ASEAN Socio-Cultural Community และวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความมั่นใจว่ามีวาระดังกล่าวและสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่สมาชิกอาเซียนที่มีความแตกต่างด้านการพัฒนา ทั้งนี้มูลนิธิอาเซียนซึ่งได้รับมอบอำนาจหน้าที่ในเรื่องข้างต้นจากกฎบัตรอาเซียนจึงได้จัดการประชุมองค์การที่ประเทศสิงคโปร์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากมูลนิธิอาเซียน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ซึ่งได้ร่วมตกลงจะเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งละสิงคโปร์รับเป็นฝ่ายเลขาธิการของเครือข่ายดังกล่าว 

      10. ASEAN University Network/ Southeast Asia Engineering Education Development Network (AUN/Seed-Net) Regional Conferences มูลนิธอาเซียนสนับสนุนโครงการนี้ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง 19 มหาวิทยาลัยในประเทศสมาชิกอาเซียน และ 11 มหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นให้ความสนับสนุน ครอบคลุมวิศวกรรมศาสตร์ 9 สาขาคือ วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมธรณี วิศวกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วิศวกรรมอุสาหกรรม วิศวกรรมวัสดุ และวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน วัตถุประสงค์ของโครงการคือการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการวิจัยที่ทันสมัย สำหรับโครงการระยะที่สอง Japan International Cooperation Agency (JICA) จะสนับสนุนการจัดการประชุมระดับภูมิภาคเกี่ยวกับวิศวกรรมหลายสาขาจำนวน 28 ครั้ง ในจำนวนนี้ JICA ออกเงินให้รวม 25 ครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1,400 คน ซึ่งจะมีโอกาสเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งท้ายสุดจะช่วยส่งเสริมความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนและอัตลักษณ์อาเซียน ดังรายละเอียดดังนี้ 

 

ที่

กิจกรรม

ระยะเวลา

สถานที่

1.

AUN/SEED Net Regional Workshop on Mechanic & Aerospace engineering Mechanical & Aerospace Engineering

23-24 กรกฎาคม

2551

บันดุง/ประเทศอินโดนีเซีย

2.

The 1st Regional Workshop on Geological and Geo- Resources Education, Geological Engineering

31 กรกฎาคม – 1

สิงหาคม 2551

เชียงใหม่/ประเทศไทย

3.

The 1st Regional Workshop in the interdisciplinary Area of Natural Resources and Materials: Natural Resource and Materials for Sustainable development of ASEAN

18-19 สิงหาคม

2551

พนมเปญ /ประเทศ

กัมพูชา

4.

AUN/SEED/Net Regional Conference

N Environmental Engineering: Environmental Challenges Facing the ASEAN Region , Environmental Engineering

8-9 กันยายน 2551

มนิลา /ฟิลิปปินส์

5.

The 1st Regional Conference in Manufacturing Engineering: Current

Ideas, Trends, and Practices in Manufacturing Engineering, Manufacturing Engineering

24-25 พฤศจิกายน

 2551

มนิลา /ฟิลิปปินส์

6.

International Symposium on Multimedia and Communication Technology Electrical and Electronics

Engineering

22-23 มกราคม

2552

กรุงเทพฯ /ประเทศ

ไทย

7.

The 1st Regional Conference on

Chemical Engineering: Research &

Development in Chemical Engineering among Academe, Industry and Government in the ASEAN Region, Chemical Engineering

22-23 มกราคม

2552

มนิลา /ฟิลิปปินส์

8.

The 1st Regional Conference on

Material : Leading the Path of Engineers,  Material Engineering

16-17 กุมภาพันธ์

2552

ปีนัง /มาเลเซีย

9.

The 1st ASEAN Civil Engineering Conference Civil Engineering

12-13 มีนาคม

2552      

ชลบุรี /ประเทศ

ไทย

10.

The 1st AUN/SEED –Net Regional Workshop on New and Renewable Energy New and Renewable Energy

12-13 มีนาคม

2552   

บันดุง/ประเทศอินโดนีเซีย

11.

The 1st Regional Conference in Biotechnology Biofuels 2009 Biotechnology

30-31  กรกฎาคม

2552

มนิลา /ฟิลิปปินส์

12.

The AUN/SEED –Net Regional Conference on Geological and Geo- Resources Engineering, Geological

Engineering

27-28 สิงหาคม

2552

มนิลา / ประเทศ ฟิลิปปินส์

13.

International Conference on Earth Science and Technology and the 2nd Regional Conference on Interdisciplinary Research

On Natural Resources and Material Engineering, Natural Resources/ Materials

6-7 สิงหาคม 2552

จาการ์ตา/ ประเทศอินโดนีเซีย

 

สนับสนุนงบประมาณโดยมูลนิธิอาเซียน

 

 

 14.

The 2009 ASEAN Symposium on Power and Energy Systems Electrical and Electronics Engineering

28-29 กันยายน

2552

หัวหิน/ ประเทศไทย

15.

TheAUN/SEED –Net Regional Conference in Chemical Engineering for Sustainable Development and Collaboration in the ASEAN Region

23-24 ตุลาคม2552

โฮจิมินท์/ ประเทศเวียดนาม

16.

The 1st International Conference on Sustainable Infrastructure and Built Environment in Developing Countries,

Environmental Engineering

 

2-3 พฤศจิกายน

2552

บันดุง/ประเทศอินโดนีเซีย

17.

The 2nd AUN/SEED –Net Regional Conference on Materials Engineering,

Materials Engineering

19-20 พฤศจิกายน

2552

ชลบุรี /ประเทศ

ไทย

18.

The 2nd AUN/SEED –Net Regional Conference in Manufacturing Engineering, Manufacturing Engineering

7-8  ธันวาคม

2552

บันดุง/ประเทศอินโดนีเซีย

19.

The 2nd AUN/SEED –Net Regional Conference on New/ Renewable Energy, Renewable Energy

21-22 มกราคม

2553

ชลบุรี /ประเทศ

ไทย

20.

Regional Conference in Mechanical and Aerospace Technology; Building Education, Research and Industrial Network through Collaboration Mechanical and Aeronautical Engineering

9-10 กุมภาพันธ์

2553

บาหลี/ประเทศอินโดนีเซีย

21.

The 2nd Regional Conference on Biotechnology – Research and Development on Food Biotechnology , Biotechnology

11- 12 กุมภาพันธ์

2553

พนมเปญ /ประเทศ

กัมพูชา

22.

International Symposium & the 2nd Regional Conference on Geo-Disaster

Mitigation in ASEAN Protection Life from Geo-disaster and Environmental

Hazards, Disaster Mitigation

25-26  กุมภาพันธ์

2553

บาหลี/ประเทศอินโดนีเซีย

23.

The 1st International Conference on Green Computing and the 1st International Conference on ICT Information and Communication Technology

2-3 มีนาคม

2553

จาการ์ตา/ ประเทศอินโดนีเซีย

24.

The 2nd AUN/SEED –Net Regional Conference on Global Environmental

Issues for Sustainable Development

in the ASEAN Region

8-9 มีนาคม

2553

โฮจิมินท์/ ประเทศเวียดนาม

25.

The 2nd ASEAN Civil Engineering Conference; Forward Civil Engineering for Sustainable Development in ASEAN Region

12-13 มีนาคม

2553

หลวงพระบาง/

สปป.ลาว

 

       11. กิจกรรมของมูลนิธิอาเซียน ปี พ.ศ. 2552 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์

       มูลนิธิอาเซียนเริ่มโครงการด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์อาเซียนเพื่อสร้างความเป็นหุ้นส่วนกับมูลนิธิ และองค์การที่เกี่ยวข้อง เพื่อมอบทุนแก่นักเรียนที่มีความสามารถจากประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะจากประเทศกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม เพื่อไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในประเทศที่เป็นที่ตั้งของมูลนิธิ/องค์การนั้น ๆ

       ทุนของมูลนิธิอาเซียน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิอาเซียนกับ Japan – ASEAN Solidarity Fund เพื่อมอบทุนแก่นักศึกษาอาเซียนไปศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในภูมิภาค เพื่อพัฒนาคุณภาพของประชาชนอาเซียน และลดช่องว่างระหว่างประเทศพัฒนากับประเทศด้อยพัฒนารวมทั้งเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความตระหนักรับรู้ในวัฒนธรรมและอัตลักษณ์อาเซียน โดยมอบทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโทจำนวน 35 ทุน มูลค่า 739,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อไปศึกษาในมหาวิทยาลัย 10 แห่ง ซึ่งรวมถึง Asian Institute of Technology (AIT) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในประเทศไทย Asian Institute of Management ในประเทศฟิลิปปินส์ และ National University of Singapore (NUS) ในประเทศสิงคโปร์ ทั้งนี้ทุนการศึกษาดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่ค่าเครื่องบินไป-กลับ ค่าเรียนและลงทะเบียน ค่าอาหารรายเดือน โดยผู้รับทุนมีทั้งหมดมีรายชื่อดังต่อไปนี้ 

 

ที่

รายชื่อ

สาขา

ประเทศ

1.

Ms. Rukka Sombolinggi

Master of Arts in International Development Studies (MAIDS)

Indonesia

2.

Ms. San Latt Phyu

Master of Arts in International Development Studies (MAIDS)

Myanmar

3.

Ms. Seng Nu Pan

Master of Arts in International Development Studies (MAIDS)

Myanmar

4.

Ms. Marly Anne Estrada

Master of Arts in International Development Studies (MAIDS)

Philippines

5.

Ms. Sry So Pheany

Diploma Degree in Gender, Transportation and Development

Cambodia

6.

Mr. Kunthea Keat

Master Degree in Gender, Transportation and Development

Cambodia

7.

Ms. Amelia Kusuma

Masters Degree in Engineering (Structural Engineering)

Indonesia

8.

Mr. Vinay Keokhamphanh

Diploma Degree in Gender, Transportation and Development

Lao PDR

9.

Mr. Chanthavisith Sith

Chanthoumphone

 

Masters Degree in Gender, Transportation and Development

Lao PDR

10.

Ms. Swe Zin Linn Phyu

Diploma Degree in Gender, Transportation and Development

Myanmar

11.

Mr. Nyan Htat Aung

Masters Degree in Gender, Transportation and Development

Myanmar

12.

Mr. Earl Macamay Opiso

Masters Degree in Engineering (Energy)

Philippines

13.

Mr. Dennis Buena

Masters Degree in Disaster Preparedness, Mitigation & Planning (Interdisciplinary

Program)

Philippines

14.

Ms. Le Thanh Huyen

Diploma Degree in Gender, Transportation and Development

 

Viet Nam

15.

Mr. Toan Khanh Nguyen

Masters Degree in Gender, Transportation and Development

Viet Nam

16.

 Mr. Truong Ngoc Quy

Masters Degree in Engineering (Construction Engineering & Infrastructure)

Viet Nam

17.

Mr. Montree Wongprasan

Masters Degree in Engineering (Geotechnical & Geo environmental Engineering)

Thailand

18.

Ms. Huong Thi Thanh Ngo

Masters Degree in Aquaculture & Aquatic Resource Management

Viet Nam

19.

Ms. Catherine L. Candano

MA Information and Communication Technology

Philippines

20.

Mr. Shu Maung

Master of Arts in International Development Studies (MAIDS)

Myanmar

21.

Ms. Sophia

Master of Arts in International Development Studies (MAIDS)

Myanmar

22.

Mr. Borin Un

Master of Arts in International Development Studies (MAIDS)

Cambodia

23.

Mr. Puoy Puthita

Masters Degree in Engineering (Construction Engineering and Infrastructure Management)

Cambodia

24.

Mr. Tran Tien Hung

Masters Degree in Engineering (Energy Management)

Viet Nam

25.

Mr. Hout Venghong

Masters Degree in Engineering (Construction Engineering and Infrastructure Management)

Cambodia

 

26.

 Ms. Nguyen Thi Thuy

Masters Degree in Engineering (Chemical Engineering)

Viet Nam

 

     12. การเสริมสร้างศักยภาพด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศสมาชิกอาเซียน

       มูลนิธิอาเซียน และ Japan –ASEAN Solidarity Fund สนับสนุนการจัดโครงการ “ Capacity Building in Poverty Mapping in the ASEAN Member Countries” ซึ่งเป็นโครงการระยะเวลา 2 ปี ดำเนินโครงการโดยศูนย์ Geoinformatics สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย( The Asian Institute of Technology –AIT) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 40 คน จากกัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม และผู้เชี่ยวชาญจาก Asian Development Bank , United Nations’ Food and Agriculture Organization and World Food Programme, the World Bank,  และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยท้องถิ่น 

      13. ข้อริเริ่มว่าด้วยการลดความยากจนระหว่างสมาชิกอาเซียน

       มูลนิธิอาเซียนและ Japan –ASEAN Solidarity Fund สนับสนุนโครงการ Mainstreaming  Poverty Alleviation among ASEAN Member Countries ซึ่งดำเนินการโดย The ASEAN Institute of Management โดยเชื่อมโครงการกับ Asian Development Bank และ Regional Technical assistance (RETA) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับข้อริเริ่มการลดความยากจนในอาเซียนทั้งด้านองค์ความรู้และเครือข่ายทั้งในลักษณะกรณีศึกษา สิ่งตีพิมพ์ การอภิปราย และผลการวิจัย ฯลฯ      

      14. การสนับสนุนโครงการของสมาชิกอาเซียน

       มูลนิธิอาเซียนสนับสนุนโครงการที่เสนอโดยสถาบันระดับชาติ ระดับภูมิภาค และองค์การของรัฐบาลและองค์การเอกชนเพื่อการพัฒนาของสมาชิกอาเซียน ทั้งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 -2553 มูลนิธิอาเซียนสนับสนุนและดำเนินโครงการจำนวน 140 โครงการ ตั้งแต่การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การมอบทุน การประชุมระดับภูมิภาค การสัมมนา และการสร้างเครือข่าย


Last Updated on Wednesday, 26 December 2012 23:29  

ผู้บริหารจัดการระบบ

แบบสำรวจความคิดเห็น

การศึกษามุ่งสู่ประชาคมอาเซียน?