.:: อาเซียน (ASEAN) กศน.อำเภอพิบูลย์รักษ์ ::.

สัมมนาผู้บริหารการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

E-mail Print PDF

นางสาวจุไรรัตน์ แสงบุญนำ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับนางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในงานสัมมนาผู้บริหารการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ ปาร์ค กรุงเทพมหานคร 

รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) ร่วมกับ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมมือกันจัดการสัมมนาและประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และร่วมพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อเสริมสร้างศักยภาพเยาวชนและประชาชนทั่วไป สู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ระหว่างวันที่ ๖ –๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ โดยมีผู้บริหารการศึกษา ครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาประมาณ ๓๐๐ คน เข้าร่วมงาน

          “งานในวันนี้ถือเป็นการเปิดตัวกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในภูมิภาคให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ตลอดจนประชาชน ให้เกิดความตระหนักและตื่นตัว เพื่อเตรียมความพร้อมและปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีแนวทางขยายผลต่อไปยังจังหวัดต่างๆ ใน ๔ ภูมิภาค ตามเขตตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ของสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา(สบย.) ได้แก่ ภาคกลาง ( สบย. ๔ ปทุมธานี และ สบย. ๕ ชลบุรี)  ภาคเหนือ (สบย.๒ พิษณุโลก) ภาคตะวันนอกเฉียงเหนือ (สบย.๙ อุบลราชธานี) และภาคใต้ (สบย.๑๑ สงขลา และ สบย.๑๒ ยะลา) ครอบคลุม ๔๐ จังหวัดในระยะแรก และจะดำเนินการให้ครบทั้ง ๗๗ จังหวัด เพื่อให้บรรลุนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ๑๒ ล้านคน และครูอีก ๕ แสนคน ภายในปี ๒๕๕๕”

รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญกับการสร้างและพัฒนาแรงงานไทยให้มีทักษะและคุณภาพ พร้อมเข้าสู่การแข่งขันในตลาดอาเซียน โดยเริ่มจากการเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อการเรียนสายอาชีพ และสร้างแรงจูงใจต่อการเรียนสายอาชีพมากขึ้น โดยเฉพาะค่าตอบแทน รวมทั้งการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาและเทคโนโลยี ซึ่งเป็นส่วนผลักดันให้แรงงานไทยสามารถแข่งขันและล้ำหน้าประเทศเพื่อนบ้านในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

นอกจากนั้น กระทรวงศึกษาธิการต้องเร่งพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา ตลอดจนทักษะด้านเทคโนโลยี ภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้านให้กับครูและนักเรียน เพื่อรองรับต่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี ๒๕๕๘ โดยเฉพาะโรงเรียนมาตรฐานสู่สากล จำนวน ๕๐๐ แห่ง และโรงเรียน สปิริต ออฟ อาเซียน (Spirit of Asian) จำนวน ๕๔ แห่งตามจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะมีการจัดอบรมและพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของประชาคมอาเซียน และเป็นเครือข่ายในการขยายผลต่อสถานศึกษาอื่นๆต่อไป ทั้งนี้มีแนวทางที่จะขยายโรงเรียนสปิริต ออฟ อาเซียน (Spirit of Asian) ให้เพิ่มอีก ๓๐ แห่ง เป็น ๘๔ แห่ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๔ พรรษาในปี ๒๕๕๔

ธมกร/ข่าว

ศุภชัย/ภาพ

กลุ่มสารนิเทศ สอ. สป.


 

การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน

E-mail Print PDF

นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดและบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ปี ๒๕๕๘” เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมช่อแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร

 

นายเฉลียวกล่าวว่า ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียนต้องเริ่มเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ โดยต้องส่งเสริมให้คนในประเทศมีความรู้ ความเข้าใจที่ดีต่อภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ลักษณะเศรษฐกิจ สังคม ของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีและเตรียมความพร้อมในการแข่งขันในตลาดเสรีที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ระบบการศึกษาของไทยต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบรับต่อการเป็นประชาคมอาเซียน โดยเน้นปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นเอกภาพของอาเซียนแก่เยาวชนให้เกิดความสามัคคีและร่วมสร้างความแข็งแกร่งให้ประชาคม นอกจากนั้น ประชาชนของประทศไทยต้องมีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่มีความจำเป็นและเป็นภาษาหลักที่ใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารของประชาคมอาเซียน ซึ่งเยาวชนไทยต้องได้รับการปูพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษให้สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี อีกทั้งต้องมีทักษะที่ดีในการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร ซึ่งจะคอยอำนวยความสะดวกและเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะสร้างสร้างโอกาสการมีส่วนร่วมในการเข้าถึงและแลกเปลี่ยนความรู้สำหรับเยาวชนไทย

การรวมกลุ่มของประเทศสมาชิกอาเซียนภายใต้ประชาคมอาเซียน จะส่งผลให้เกิดการเลื่อนไหลของการศึกษา โดยที่ประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางของการศึกษาในอาเซียน โดยมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการศึกษา ทั้งครูและนักเรียน รวมถึงสื่อการสอนและเทคโนโลยีที่ที่นำมาพัฒนาการศึกษาของประเทศตนเอง ซึ่งในขณะนี้ประเทศไทยได้มีการดำเนินการแลกเปลี่ยนนักเรียนกับประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งการเข้าร่วมโครงการส่งนักศึกษาสายอาชีพไปฝึกงานยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อฝึกทักษะและสั่งสมประสบการณ์การทำงานให้นำมาใช้ในการพัฒนาความรู้ ทักษะ ของตน เองให้พร้อมเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศต่อไป

ธมกร/ข่าว

วิชัย/ภาพ


 

 


Page 19 of 20

ผู้บริหารจัดการระบบ

แบบสำรวจความคิดเห็น

การศึกษามุ่งสู่ประชาคมอาเซียน?
 

ผอ.กศน.อ.พิบูลย์รักษ์

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

พยากรณ์อากาศวันนี้

อัตราราคาน้ำมันวันนี้